สวัสดีครับ ผมป่องนะครับ ผมใช้ความตั้งใจเกินร้อยที่จะเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้เนื้อหาของบทความนี้สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับใช้ในการสอน การทำบทความ SEO มืออาชีพ ในคอร์ส “SEO TOP RANK” ด้วยเจตนารมณ์ที่จะเปิดสอนฟรี ในทุก ๆ เช้าของวันเสาร์ (ที่ผมว่าง) โดยใช้เวลาประมาณ 90-120 นาที
ซึ่งสามารถติดตามประกาศได้ทาง : คลิก
ดังที่กล่าวไปแล้วนะครับว่าเนื้อหาในคอร์สนี้ผมเขียนขึ้นเอง เนื้อหาที่อ่านอาจจะดูเยอะไปสักหน่อย บางท่านอาจจะคิดว่าพูดให้ฟังง่ายกว่า แต่ถึงอย่างไรผมก็ตั้งใจเขียนขึ้นมาให้ละเอียดที่สุด เรียกได้ว่าเริ่มตั้งแต่ 0 กันเลยครับ
สารบัญ การทำบทความ SEO
- การใช้เครื่องมือค้นหา (search engine) ในประเทศไทย
- SEO คืออะไร ? ต่อยอดอย่างไรได้บ้าง ?
- ถอดรหัสพฤติกรรมการค้นหาของผู้คน ในปี 2023
- แนวทางการต่อยอด ในการทำบทความ SEO
- 4 คำศัพท์ ต้องรู้ ก่อนเริ่มทำบทความ SEO
- 3 ขั้นตอนทำบทความ SEO แบบหวังผลลัพท์ได้
- เทคนิคการวิเคราะห์ และ การนำไปใช้
- ขอยกตัวอย่างให้ทุกท่านเห็นภาพชัดอีกหน่อย
- ข้อสรุปสำหรับมุมของเจ้าของธุรกิจที่ทำ SEO
- ทำไมต้องใช้คำว่าเมล็ดพันธุ์
หลายท่านอาจจะเคยเห็นคำอธิบายว่า “การทำ SEO คืออะไร?” กันมาบ้างแล้ว ต้องยอมรับว่าความหมายที่ถูกต้องที่สุด ก็คือ
“การทำ SEO บน Google ช่วยเพื่ม Traffic แบบ Organic Search ให้ Website”
แต่สำหรับท่านที่ยังงง ๆ หรือ ไม่เคยได้ยินถ้อยคำเหล่านี้เลย วันนี้ผมจะค่อย ๆ อธิบายให้ทุกท่านเข้าใจอย่างถ่องแท้รวมไปถึงการสอนให้ท่านสามารถประยุกต์ใช้ และนำไปต่อยอดได้จริงนะครับ
การใช้เครื่องมือค้นหา (search engine) ในประเทศไทย

ปัจจุบันคนไทยใช้เครื่องมือค้นหา (search engine) กันเกือบทุกวัน จากภาพประกอบด้านบนแสดงให้เห็นว่าประชากรในประเทศไทยใช้ Google กันเกือบ 100% เลยก็ว่าได้ ในขณะที่สถิติประชากรทั่วโลกก็ใช้ Google โดยเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 90% ซึ่งก็นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย
หากย้อนกลับมาดูตนเองและคนใกล้ตัว ผมเชื่อได้ว่าทุกคนคงต้องยอมรับว่า เราใช้ Google สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ทั้งการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการซื้อ-ขาย อาจกล่าวได้ว่า Google ซึ่งเป็นหนึ่งใน Search Engine คือเครื่องมือการค้นหาหลักของคนไทย
SEO คืออะไร ? ต่อยอดอย่างไรได้บ้าง ?

SEO ย่อมาจาก “Search Engine Optimization” หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพในเครื่องมือการค้นหา
ด้วยการใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วยพัฒนาเว็บไซต์ให้อยู่ในอันดับที่ดีในการค้นหา โดยในปัจจุบัน การพัฒนาให้เว็บไซต์ใดใดก็ตามที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของการค้นหา กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งนัก SEO และคนในวงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SEO ต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันนี้ และเรียกพฤติการณ์นี้ว่า “ทำ SEO” “ทำอันดับ” “บทความ SEO” หากคุณได้ยินถ้อยคำเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่าพวกเขากำลังพยายามทำเว็บไซต์ หรือ หน้าเพจเว็บไซต์ ให้ติดอันดับที่ดีใน Google นั่นเอง
ถอดรหัสพฤติกรรมการค้นหาของผู้คน ในปี 2023
ผมคอยสังเกตตัวเอง และ มักจะถามความคิดเห็นจากนักเรียนในคอร์สอยู่เสมอ ว่า ทุกวันนี้เราใช้ Google อย่างไรบ้าง
คำตอบที่ได้ ก็จะออกมาเป็นอย่างขั้นตอนประมาณนี้ คือ
- เข้า Google เพื่อถามคำถามที่อยากรู้
- เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ ตรงตามความต้องการ
- อ่านเนื้อหาภายในหน้าเว็บจนพอใจ
- ออกจากเบราเซอร์ หรือ กลับไปที่ ข้อ 1
- ทำซ้ำ
จากพฤติกรรมของตัวผมเอง และ เพื่อน ๆ หลายท่าน ทำให้ผมพอจะอนุมานได้ว่า “เราจะเข้า Google เมื่อเราอยากค้นหาเท่านั้้น และ เมื่อเราได้คำตอบที่ต้องการ เราจะปิดหน้านั้นทิ้งทันที” เท่ากับว่า โอกาสที่เราจะคลิกเพิ่ม หรือ ท่องไปในหน้าเว็บไซต์นั้น มีน้อยมาก ๆ
และที่สำคัญ คือ คนส่วนใหญ่แทบจะไม่คลิกไปหน้าที่ 2 ของ Google หรือ ที่ยิ่งไปกว่าไปกว่านั้น คือ พวกเขาอาจจะเลือกเว็บไซต์ที่ขึ้นมาในอันดับ 1-5 เท่านััน
แล้วคุณล่ะ คิดเหมือนผมไหม ?
แนวทางการต่อยอด ในการทำบทความ SEO
แนวทางการต่อยอดธุรกิจ ในการทำ SEO จากที่อธิบายข้างต้นว่าผู้ค้นหา หรือ ผู้บริโภค ใช้ Google ในการค้นหาทุกสิ่งที่เขาต้องการ ทั้งความต้องการรู้ และความต้องการซื้อ ก็เท่ากับว่า Google คือจุดเริ่มต้นการแสดงความต้องการของผู้คน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ และ กว้างมากๆ ไม่ต่างอะไรจากที่คุณสร้างตัวตนบนเพจ Facebook หรือ สร้าง Content ใน Tiktok เลย
คำถามคือ…ถ้าคุณรู้อย่างนี้แล้วว่า Google ก็เป็นหนึ่งซึ่งสามารถสร้างตัวตนได้ และ เข้าถึงความต้องการจำนวนมหาศาล คุณเริ่มสนใจในการมี Website และ ทำ SEO บ้างแล้วรึยังครับ?
4 คำศัพท์ ต้องรู้ ก่อนเริ่มทำบทความ SEO
3 ขั้นตอนทำบทความ SEO แบบหวังผลลัพท์ได้

สำคัญที่สุดเลยครับ ของการทำบทความ SEO ให้แตกต่างจาก บทความทั่วไป คือ การที่เราต้องรู้ว่า กำลังจะทำเรื่องอะไร ? บทความประเภทไหน ? และ ต้องการให้ใครอ่าน ?
ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์คำค้นหา (keyword Research)
เครื่องมือที่เราต้องใช้ คือ Keyword Surfer และ หน้า SERP ซึ่ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือฟรี แต่การทำงานคุ้มค่ามากๆ
1.1 หาคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง ด้วยหน้า SERP

1.2 หาไอเดียคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง ด้วยหน้า Keyword Surfer

ขั้นตอนที่ 2 : ดู Search Intent
คือการดูจุดประสงค์ของผู้ค้นหา Keyword นั้นๆ ผ่านหน้า SERP ยิ่ง Google แสดงผลการค้นหาในรูปแบบไหนออกมาใน % ที่มากที่สุด เท่ากับว่าให้เรามองสะท้อนออกมาเลยครับ
ค้นหาคำอะไรไป หน้า SERP ก็จะแสดงผลขึ้นมา = ผู้คนต้องการสิ่งเหล่านั้น
(เชื่อใจใน Google เพราะ Google กำลังพัฒนาตัวเองให้ตอบคำถามพวกเราให้ได้อย่างดีที่สุด)
ขั้นตอนที่ 1+2 : การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด เพื่อตัดสินใจก่อนทำบทความ
กระบวนการ 2 ข้อนี้ เป็นปกติของผมมากที่จะใช้ในการประเมินก่อนทำบทความ เพื่อป้องกันการทำแล้วไม่ผิดโจทย์ หรือ เรียกง่ายๆว่าทำแล้วก็อยากจะให้คุ้มที่สุดนั้นเอง
- เริ่มจากการได้รับ คำค้นหา ดู Volume ของคำนั้นๆ และ คำค้นหาอื่นๆ ที่อาจจะน่าสนใจ
- หลังจากนั้นก็ดูประเภทของบทความ ในภาพรวมในหน้า SERP เพื่อตัดสินใจแนวทางการทำบทความ
- เลือก Focus Keyword หรือ คำค้นหาหลัก ที่เราจะใช้เขียนบทความ และ ต้องรู้อย่างแน่ชัดแล้วว่า เรากำลังทำบทความประเภทไหน ?
ขั้นตอนที่ 3 : วางแผน Heading หัวข้อรองในบทความ ก่อนลงมือเขียน
การกำหนดหัวข้อรองในบทความ ก็คือ การวาง Heading 2-6 เพราะการวางหัวข้อที่ถูกต้อง จะส่งผลต่อการสื่อความหมาย และ ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
*** H1 หายไปไหน ? โดยปกติแล้ว Heading 1 จะเป็น Site Title หรือ หัวข้อเรื่องของบทความนั้นๆ อยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นการวางแผนหัวข้อย่อยในบทความ จึงไม่จำเป็นต้องวางแผน
จากหัวข้อก่อนหน้า ที่ผมให้ทุกท่านหา “คำค้นหาหลัก” ให้เจอ และ รู้ว่าจะทำบทความประเภทอะไร ? ก็เพื่อเอามาใช้ในหัวข้อนี้เลยครับ
โดยมีเงื่อนไขอยู่ 1 ข้อนะครับ คือ หัวข้อย่อยในบทความ ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาหลักนั้นจริงๆ จะมี Volume หรือ ไม่มีก็ได้
ตัวอย่างการวางแผน Heading

โดยไฮไลท์สีเหลือง คือ หัวข้อที่มีคำค้นหาที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ในบทความนี้มี 7 หัวข้อที่ตั้งใจผสมคำค้นหา และ อีก 6 หัวข้อที่ตั้งใจทำหัวข้อที่ไม่มีคำค้นหา แต่ทั้งหมดทั้งมวล คือ การทำแบบธรรมชาติครับ
ลองคิดในทางกลับกันว่า ถ้าเราเน้นไปที่หัวข้อไปที่ต้องเป็นคำค้นหาเพียงอย่างเดียว Google จะมองอย่างไร ?
ส่วนตัวผมใช้ % อยู่ที่ 50-70% ในการผสมคำค้นหาใน heading ต่างๆ ซึ่งยังสามารถทำอันดับได้อย่างดีเสมอมาครับ
*** อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการทำ SEO จะมีปัจจัยอีกหลายข้อมากกว่านี้ รวมไปถึงเทคนิคอื่นๆ แต่ผมรับรองว่า สำหรับสาย Content Writer เท่านี้ก็เพียงพอต่อการสร้างคุณภาพให้กับงานแล้วล่ะครับ
และสำหรับท่านใดที่สนใจอยากเรียน SEO ขั้นสูงกับผมแบบตัวต่อตัว ก็สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง : https://onemarketmaker.com/seo-advanced/
เทคนิคการวิเคราะห์ และ การนำไปใช้
ยิ่งใช้คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นเท่าไหร่ + รู้ Volume ของ Keyword + ประเมิน Search intent ของผู้ค้นหาได้ดี… โอกาสที่คุณจะทำ Content ให้ตรงใจลูกค้า เพื่อปิดการขายได้ ก็สูงขึ้นมากเท่านั้นครับ
ขอยกตัวอย่างให้ทุกท่านเห็นภาพชัดอีกหน่อย
สถานการณ์จำลอง โดย นายป่อง
- นายป่องต้องการซื้อสินค้า ABC (อาหารเสริม) ซึ่งอาจจะได้คำแนะนำมาจากเพื่อนในออฟไลน์ แต่เขาก็อาจจะยังไม่มั่นใจว่าจะดีต่อตัวเองจริง ๆ หรือไม่ มีส่วนผสมอะไรบ้างที่ร่างกายจะได้รับ
- แน่นอนว่า นายป่องจะเริ่มค้นหาความรู้ของส่วนผสมเหล่านั้นทีละตัว เช่น DEF คืออะไร , JKL คืออะไร เป็นต้น
- หลังจากที่นายป่องเข้าใจแล้วว่าในสินค้า ABC มีส่วนผสมอะไรบ้าง เขาจะเริ่มหารีวิว หรือ เปรียบเทียบ ว่ามียี่ห้ออื่น ที่น่าสนใจกว่าหรือไม่ เช่น หากสินค้านี้เป็นเวย์โปรตีน นายป่องก็คงเริ่มหาข้อมูลต่อว่า เวย์โปรตีน ยี่ห้อไหนดี , เวย์โปรตีน ลดน้ำหนัก เป็นต้น
- เมื่อเขาอ่านรีวิวจนพอใจ ก็เป็นอันสรุปได้ว่า ยี่ห้อ XYZ น่าสนใจที่สุด จากนั้นเขาจึงเริ่มหาราคาที่ถูกที่สุด และ ต้องมั่นใจว่าคนขายจะไม่โกง ได้รับสินค้าถึงมือแน่ ๆ
- ขั้นตอนนี้ อาจจะทำได้หลายวิธี แต่สำหรับนายป่อง อาจจะเข้า แอปส้ม แล้วค้นหาสินค้าตัวนั้น และ ค้นหาใน Google ว่า XYZ ราคา , ซื้อ XYZ , XYZ ราคาถูก เป็นต้น

และแน่นอน นายป่อง จะพยายามค้นหาจาdทุกช่องทาง โดยเริ่มที่ หน้า Google และสำหรับทุกท่านที่อ่านถึงตรงนี้ พอจะเห็นอะไรมั้ยครับ
- เรามาลองคิดในมุมมองของคุณ หรือผมกันดีกว่า คุณคิดว่า เรื่องจะต่างออกไปไหมครับ…
- หรือผมอาจจะตัดสินใจซื้ออาหารเสริมนั้นแบบไม่ลืมหูลืมตาตั้งแต่เพื่อนแนะนำ ? แน่นอนว่า ผมไม่ทำอย่างนั้น
- ในกระบวนการเริ่มหาข้อมูล หากเว็บไซต์ (ซึ่งอยู่ลำดับต้น ๆ ของ Google) ที่ผมกดเข้าไปดูเหล่านั้น ขายสินค้าที่ผมสนใจด้วย แน่นอน นั่นคงทำให้รู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ เพราะเขานำเสนอข้อมูลที่ผมต้องการรู้อยู่พอดี
- ผมอาจจะเริ่มหารีวิว และข้อมูลเปรียบเทียบ ว่าดีกว่ายี่ห้ออื่น ๆ อย่างไร ถ้าเว็บเหล่านั้น มีสินค้ายี่ห้ออื่นขายด้วย แน่นอนว่า ผมอาจจะมีความลังเลในการตัดสินใจ ในท้ายที่สุด เมื่อผมตัดสินใจอยากซื้อของยี่ห้อนั้น ๆ ผมก็ต้องการซื้อกับร้าน Official แต่ถ้าร้านเหล่านั้นไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง หรือเป็น เพจ Facebook ที่มียอดผู้ติดตามน้อย โพสไม่อัพเดท ความน่าเชื่อถือก็จะเริ่มลดลงไปโดยปริยาย
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้กำลังพยายามเชียร์ว่า SEO ดีที่สุด แต่ถ้าคุณใช้เทคนิดที่ได้รับรู้เหล่านี้ควบคู่ไปด้วยกันได้ จะดียิ่งกว่าแน่นอน ทั้ง การตลาดแบบนำเสนอ และ การตลาดแบบตั้งรับ (Outbound marketing และ Inbound marketing)
ข้อสรุปสำหรับมุมของเจ้าของธุรกิจที่ทำ SEO
- Website = ความน่าเชื่อถือ
- ให้ความรู้ เกี่ยวกับสินค้า บริการ ของตนเอง = ลูกค้ามั่นใจ
- มีการอัพเดทของธุรกิจสม่ำเสมอ = ลูกค้าเชื่อใจ
และยิ่งไปกว่านี้ การทำ SEO สามารถสร้าง Organic Search เข้าสู่เว็บไซต์เราได้อย่างมากมาย อาจเรียกว่า ผู้เข้าชมแบบธรรมชาติ คือ เราไม่ได้บังคับให้ใครเข้าเว็บของเรา แต่เป็นการเข้าถึงโดยลูกค้าที่ค้นหา แล้วเจอเว็บไซต์ของเราเอง
ยิ่งหว่านเมล็ดพันธุ์ชั้นยอด ด้วย Content ลงไปใน Website มากเท่าไหร่ โอกาสเพิ่มการรับรู้ ที่นำไปสู่การปิดการขายก็มากขึ้นตามเท่านั้น..
นั่นก็คือ การมีเว็บไซต์ และ ทำ Content ในรูปแบบของบทความ+รูปภาพ โดยใช้คำค้นหาที่ตรงใจผู้ค้นหา เมื่อมีความต้องการ เรามีหน้าที่ตอบโจทย์ความต้องการนั้น โดยให้การทำ SEO Google เป็นผู้สานความสัมพันธ์ให้เราได้เจอกับลูกค้า เพียงเท่านี้ คุณก็มีตัวตนในโลกของ Google แล้วล่ะครับ สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งคือ Google พัฒนาตัวเองตลอดเวลา โดยจะเลือกยืนอยู่ฝั่งผู้บริโภคเสมอ หน้าที่ของเราต่อการทำ SEO คือ ทำ Content ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนให้ได้ นี่แหละครับ “SEO”
ทำไมต้องใช้คำว่าเมล็ดพันธุ์
การทำ SEO จะแตกต่างจากการทำโฆษณาแบบยิง Ads โดยสิ้นเชิง เพราะ ในด้านของ Outbound Marketing คือการผลักป้ายโฆษณาให้ออกไปสู่กลุ่มลูกค้าของเราให้ได้ จ่ายเงิน = มีคนเห็น แต่สำหรับ SEO จ่ายเงินอยากให้เห็น = ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำ SEO สำคัญที่สุดในการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี (Keyword) ซึ่งต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เตรียมการ คัดสรร ในทุกขั้นตอนอย่างดี ยิ่งทำมาก ยิ่งเพิ่มโอกาสเก็บผลผลิตมากขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญ ต้องใช้เวลา 3-6 เดือน ในการเริ่มต้น